จ.อุบลราชธานี
อนามัยที่10 ขับเคลื่อนนโยบาย แบบบูรณาการ Smart People to Smart City ศูนย์อนามัยที่ 10 กรมอนามัย เดินหน้า ขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ Smart People to Smart City ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พชอ.และเครือข่ายสถานประกอบการ เขต สุขภาพที่10 ที่โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ ฯ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์อนามัยที่10 กรมอนามัย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ Smart People to Smart City ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พชอ.และเครือข่ายสถานประกอบการ เขต สุขภาพที่10 ขึ้น โดยมี นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 10 ร่วมด้วย นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี นายอาเภอ ประธาน พชอ. สาธารณสุขอาเภอ เลขา พชอ.ทุกอาเภอ ในเขตสุขภาพที่ 10 บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงาน ระดับจังหวัด ในเขตสุขภาพที่ 10 ศูนย์วิชาการทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 10 เข้าร่วมประชุม
เพื่อเป็นการขับเคลื่อนงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ที่มุ่งปฏิรูประบบสุขภาพในระยะยาว เน้นการทางานแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ ที่มีความสอดคล้องตรงกับสภาพปัญหาตามบริบท นาไปสู่การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งการจัดการประชุมในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอาเภอ ซึ่ง ถือเป็นกลไกหลักที่สาคัญในการขับเคลื่อนการดาเนินงานในระดับพื้นที่ให้ประสบผลสาเร็จ นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 10 กล่าวว่า การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่เพื่อให้ใกล้ชิดประชาชน มีการบูรณาการ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ ทิศทาง ร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ในการร่วมกันดูแลทุกข์สุขประชาชน ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของผู้ใดผู้หนึ่ง แต่ละหน่วยงานทางานกันเป็นเครือข่ายร่วมกัน share ข้อมูล และนาข้อมูลนั้นมาพิจารณาดูแลคุณภาพของประชาชนให้ สุขกาย สุขใจ สุขเงิน ไม่ใช่ดูแลเฉพาะด้านสุขภาพ แต่ต้องดูแลทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจด้วยรวมทั้งหมด ร่วมคิด ร่วมทา ร่วมรับผิดชอบ โดยใช้กลไกที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน และมีสาธารณสุขอำเภอเป็นเลขา มีคณะกรรมการประกอบด้วยทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน ท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้รู้สึกเป็นเจ้าของ และร่วมกัน ใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” การทางานที่เป็นทีม มีเครือข่ายร่วมกัน วางแผนโดยนาข้อมูลคืนสู่สังคม แล้วร่วมกันคิดแก้ไขปัญหา โดยปัจจุบันสุขภาพเป็นเรื่องของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลต่อสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ดังนั้นการให้ความรู้ด้วยการสร้าง Health literacy ให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่ สุขกาย สุขใจ สุขเงินอย่างยั่งยืน
นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมี มติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2560 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ซึ่งมีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนด นโยบายและทิศทางการพัฒนา การสนับสนุนและแก้ไขปัญหาการ ดำเนินงาน และติดตามและประเมินผล การดำเนินงานของคณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พชอ.และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต พชข.ในระดับอำเภอกาหนดให้ในแต่ละอำเภอของทุกจังหวัด มีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พชอ. ประกอบด้วย โดยมีนายอำเภอ เป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ ในการกำหนดแผนงานและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในอำเภอ และดำเนินการให้เกิดการขับเคลื่อนตามแผนงาน โดยบูรณาการ และระดมทรัพยากรที่มีอยู่ในอำเภอทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน แต่ขาดกลไกระดับจังหวัดในการกากับติดตามงานดังกล่าวฯ ซึ่งในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่วนนี้ในระดับจังหวัดเพื่อให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ธนัชชัย จึงเจริญ รายงาน