กาญจนบุรี กรรมาธิการพลังงานลงพื้นที่บ่อกำจัดขยะก่อนจะนำไปพิจารณาจัดตั้งเป็นโรงผลิตกระแสไฟฟ้า
ที่องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เดินทางลงพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยนเพื่อร่วมประชุมและรับฟังการดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับเรื่องขยะมูลฝอยในพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี โดยมี พลตรีรังษี กิตติญาณทรัพย์ ที่ปรึกษากองทัพภาคที่ 1และประธานดำเนินการโครงการความร่วมมือการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยระหว่างประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายสมเจตน์ จงศุภวิศาลกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายวิฑูรย์ สิรินุกุล นายอำเภอเมืองกาญจนบุรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ พนักงาน และ ลูกจ้าง องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน เจ้าหน้าที่ทหารจาก มณฑลทหารบกที่ 17 รอง กอ.รมน.กาญจนบุรี และคณะสื่อมวลชนให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยนอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ต่อจากนั้นพลตรีรังษี กิติญาณทรัพย์ ที่ปรึกษากองทัพภาคที่ 1 และประธานดำเนินการโครงการความร่วมมือการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยระหว่างประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เป็นผู้กล่าวต้อนรับและบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินการ ในโครงการดังกล่าวว่า พื้นที่บริเวณเขาทองเป็นพื้นที่ราชพัสดุโดยให้ กองทัพบกเป็นผู้ดูแลและใช้เป็นพื้นที่ฝึกทางยุทธวิธีของกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อปีพ.ศ. 2530 ได้มีการลักลอบนำขยะมูลฝอยมาทิ้งจวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2559
พลตรีณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ได้มาดำรงตำแหน่ง ผบ.พล 1 รอ. ได้มาทำการตรวจเยี่ยมพื้นที่การฝึกก็ได้พบว่ามีขยะมูลฝอยมาทิ้งที่บริเวณเนินเขาทองเป็นพื้นที่ประมาณ 100 ไร่มีขยะสะสมประมาณ 1 ล้านตันจึงสั่งการให้ปิดบ่อขยะ ดังกล่าว แต่เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรีได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการใช้พื้นที่ทิ้งขยะจนกว่าจังหวัดกาญจนบุรีจะสามารถหาพื้นที่ในการทิ้งขยะได้ พลตรีณรงค์พันธ์จึงได้สั่งการให้ พลตรีรังษี กิติญาณทรัพย์ ที่ปรึกษากองทัพภาคที่ 1 เรียกประชุมกับนายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 37 แห่ง
เพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการบริหารและจัดการขยะจนกว่าจังหวัดกาญจนบุรีจะมีที่ทิ้งแห่งใหม่โดยในที่ประชุมดังกล่าวมีข้อสรุปดังต่อไปนี้ 1 จัดตั้งโครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยระหว่างประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยนำเครื่องคัดแยกขยะจำนวน 3 เครื่อง มาดำเนินการคัดแยกขยะซึ่งการคัดแยกขยะจะแบ่งออกเป็นขยะที่ย่อยสลายได้และขยะที่ย่อยสลายไม่ได้โดยขยะที่ย่อยสลายได้นำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดแจกให้กับเกษตรกรโดยไม่มีค่าใช้จ่ายซึ่งการดำเนินการในโครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบันสามารถดำเนินการแจกปุ๋ยอินทรีย์ให้กลับ เกษตรกรได้ 1, 200 ตันมีเกษตรกรได้รับปุ๋ยจำนวน 1,200 คน ส่วนขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ได้นำไปกำจัดนอกพื้นที่โดยการเผาที่โรงปูนทีพีไอกับโรงปูนนกอินทรีย์ ปัจจุบันสามารถบริหารจัดการขยะได้จำนวน 3 แสนตันคืนพื้นที่ให้กับมาสู่สภาพเดิมได้ 30 ไร่
พลตรีรังษี ได้กล่าวต่อว่าการดำเนินการโครงการ บริหารจัดการขยะเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปีสามารถสรุปได้ว่าการบริหารจัดการขยะที่ใช้เครื่องคัดแยกสามารถแก้ปัญหาได้เพียง 50% เพราะเนื่องจากขีดความสามารถของเครื่องคัดแยกจะสามารถทำได้กับพลาสติกและโฟมที่ทำเป็นเป็นโต๊ะ เก้าอี้ โซฟา ที่นอน เสื้อผ้า หมอน มุ้ง ตู้ เตียงและอื่นๆไม่สามารถบริหารจัดการได้ และจากการที่ไปดูงานโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเผาขยะที่ประเทศจีนพอสรุปได้ว่าการบริหารจัดการขยะที่ยั่งยืน ได้ประโยชน์ จากการทำโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเผาขยะ มี 4 ประการคือ 1 สามารถกำจัดขยะได้ 100% 2 เพิ่มความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าให้กับประเทศ 3 สามารถสร้างงานให้กับประชาชน และ 4 เป็นการส่งเสริมการลงทุนให้ต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย ให้ประธานในพิธีทราบ
หลังจากนั้นประธานในพิธีรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมการประชุมได้มีการพูดคุย เกี่ยวกับโครงการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นภายในพื้นที่ตำบลแก่งเสี้ยนนำไป เข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการ การพลังงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช) ทำการพิจารณาอีกครั้ง
ต่อจากนั้น พลตรีรังษี กิติญาณทรัพย์ ที่ปรึกษากองทัพภาคที่ 1 และประธานดำเนินการโครงการดังกล่าวพร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ได้นำคณะกรรมาธิการการพลังงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เดินทางมายังบริเวณพื้นที่บ่อขยะ ผึ้ง เป็นพื้นที่จัดการขยะมูลฝอยระหว่างประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ดำเนินการร่วมกันเสร็จแล้ว
เกษร เสมจันทร์