สืบสานงานวัฒนธรรม.! “สร้างคุณธรรม ให้การศึกษา คืนถิ่นอีสาน” ปีที่ 7 อธิการบดี ม.เฉลิมกาญจนาสร้างบุญใหญ่ ประจำปี บวชพระสามัคคี 125 รูป
เมื่อวันที่ 12 ก.ค.67 ดร.สุชีราภรณ์ ธุวานนท์ อธิการบดี และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ร่วมกัน จัดโครงการบรรพชาอุปสมบท ให้แก่กุลบุตรผู้มีความศรัทธา แต่ยากจน ได้มีโอกาสบรรพชาอุปสมบท เพื่อศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการส่งเสริมสร้างคุณธรรมให้ชีวิต ให้แก่ประชาชนผู้บวช ตลอด 3 เดือน
ทางมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา โดยอธิการบดี ดร.สุชีราภรณ์ ธุวานนท์ และเจ้าของมหาวิทยาลัย และดร.พอพัน สนเจริญ กรรมการสภามหาวิทยาลัยและคณะ ได้จัดมาทุกปี เข้าสู่ปีที่ 7 การบวชในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 125 คน โดยแบ่งการบวช ในพัทธสีมา มหานิกาย ณ วัดมหาพุทธาราม ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ และพัทธสีมา ธรรมยุต วัดบูรพาราม พระอารามหลวง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการบรรพชาอุปสมบท ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (บวชฟรี) เพียงขอให้มีความตั้งใจ ศรัทธา อยู่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส 3 เดือน และตั้งใจประพฤติปฏิบัติ ใน หลักธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า การบวชนั้น มีอานิสงส์ของการบวช นานัปการ
วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ก่อตั้งขึ้น ณ 99 หมู่ 6 ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ด้วยเจตนารมณ์ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาในระดับปริญญาตรี อันจะนำไปสู่การพัฒนาทางด้านความคิด ทักษะเชิงวิชาชีพ มนุษยสัมพันธ์และคุณธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น
โดยเฉพาะจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งประเทศชาติแบบยั่งยืน วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จึงจัดให้มีการเรียนการสอน โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในด้านศักยภาพและทรัพยากรสนับสนุนต่างๆ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้
ภายใต้การดำเนินบริหาร โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นนายกสภาวิทยาลัย และผู้บริหารหลักสูตร และ ดร.สุชีราภรณ์ ธุวานนท์ เป็นผู้รับใบอนุญาตและอธิการบดี ได้เริ่มเปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 จนถึงปัจจุบัน และได้พัฒนาขยายพื้นที่การศึกษาออกไปยังภูมิภาคต่างๆ รวม 9 จังหวัด
เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนของชาติ ลดค่าใช้จ่าย จากการที่จะต้องเข้ามาเรียน มาศึกษาในเขตเมืองหลวง เป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วน ค่ากิน ค่าหอ การใช้ชีวิตในเมืองหลวง ผู้เรียนมีโอกาสได้อยู่กับครอบครัว สร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดคามผูกพันรักถิ่นบ้านเกิดอีกด้วย