นครปฐม อำเภอสามพราน เทศบาลเมืองไร่ขิง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม และเทศบาลตำบลบางกระทึก ทำบันทึกข้อตกลง (MOU)ร่วมกัน “การจัดการน้ำเสียในลำคลอง ภายใต้บริบท น้ำดีไล่น้ำเสีย”
เมื่อวันที่25กรกฎาคม2566 ที่ห้องประชุมชั้น4 สำนักงานเทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ว่าที่ร้อยโทอรรถชล ทรัพย์ทวี นายอำเภอสามพราน เป็นประธาน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การจัดการน้ำเสียในลำคลอง ภายใต้บริบท น้ำดีไล่น้ำเสีย”ระหว่าง อำเภอสามพราน เทศบาลเมืองไร่ขิง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม และเทศบาลตำบลบางกระทึก พร้อมด้วย นายจำรัส ตั้งตระกูลธรรม นายกเทศมนตรีเมืองไร่ขิง นายณัฐวุฒิ สินธุวงษ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ นายสุรินทร์ แคบำรุง นายกเทศมนตรีเมืองกระทุ่มล้ม ผศ.ดร.อุบล วุฒิพรโสภณ นายกเทศมนตรีตำบลบางกระทึก ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง“การจัดการน้ำเสียในลำคลอง ภายใต้บริบท น้ำดีไล่น้ำเสีย”
โดย บันทึกข้อตกลงฉบับนี้ จัดทำขึ้น ระหว่าง อำเภอสามพราน เทศบาลเมืองไร่ขิง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม และเทศบาลตำบลบางกระทึก ด้วยเจตนารมณ์ร่วมกันของภาคี ความร่วมมือทั้งห้าองค์กร ที่ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการน้ำเน่าเสียในลำคลอง เพื่อดำเนินการให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในลำคลองสาขาของแม่น้ำท่าจีน ในพื้นที่ให้ใสสะอาดอย่างยั่งยืน โดยการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมกันดูแลรักษา เพื่อให้ หน่วยงานอำเภอสามพราน เทศบาลเมืองไร่ขิง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม และเทศบาลตำบลบางกระทึก ร่วมกันดูแลรักษาความสะอาด คลองระบายน้ำที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกัน ในการกำจัดวัชพืช ขยะ วัตถุ สิ่งปฏิกูล ที่กีดขวางทางน้ำ ร่วมทั้งการสร้างความเข้าใจปลูกจิตสำนึกให้กับภาคประชาชน ภาคเอกชน ในพื้นที่ให้ช่วยรักษาความสะอาดแหล่งน้ำลำคลอง เพื่อให้การระบายน้ำของคลอง เป็นไปด้วยความสะดวก มีความสะอาด ไม่เป็นแหล่งก่อเกิดมลพิษและโรคภัยต่าง ๆติดตามสำรวจตรวจสอบคุณภาพน้ำในคลอง ร่วมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ โดยมีการรายงานข้อมูลร่วมกันผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เช่น กลุ่มไลน์ เพื่อเป็นข้อมูลในการ ปรับปรุง แก้ไข พัฒนาระบบการจัดการโครงการให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น อย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งจัดการระบบการระบายน้ำ ปิด-เปิด ประตูระบาย เครื่องสูบน้ำ เพื่อการผลักดันน้ำคุณภาพดีของแม่น้ำท่าจีน เข้าไปเจือจาง และผลักดันน้ำเสียตามลำคลองต่าง ๆที่รับน้ำทิ้งจากภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ในพื้นที่รับผิดชอบ ระบายออกมาสู่แม่น้ำท่าจีน สร้างระบบเส้นทางการหมุนเวียนของน้ำในลำคลอง ให้เป็น วัฏจักรตามแนวแผนผังเส้นทางการระบายน้ำ ป้องกันการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ การวางมาตรการ จัดทำแผนการจัดการด้านอุทกภัย นำข้อมูล สถิติ งานวิจัย ฯลฯ และปัญหาที่เคยประสบในพื้นที่ เป็นข้อมูลในจัดทำแผนกำหนดเป็นนโยบาย ยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนการดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ของแต่หน่วยงานต่อไป