Breaking News

นครปฐม  ม.มหิดล โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคมจัดเสวนาฯ ทบทวน “ประเด็นประชากร”และ “ผลกระทบของโควิด-19”

นครปฐม  ม.มหิดล โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคมจัดเสวนาฯ ทบทวน “ประเด็นประชากร”และ “ผลกระทบของโควิด-19”

วันที่ 18 ธันวาคม 2563 ที่ห้องประชาสังคมอุดมพัฒน์ (101) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

มหาวิทยาลัยมหิดลจัด(Roundtable Talk) เสวนาโต๊ะกลม ครั้งที่ 1 ทบทวน “ประเด็นประชากร”และขบคิด “ผลกระทบของโควิด-19” งานประชุมวิชาการระดับชาติ “ก้าวสู่ปีที่ 50”(Prachakorn Forum) ภายใต้หัวข้อทบทวน “ประเด็นประชากร”ขบคิด “ผลกระทบของโควิด-19” มองอนาคต “เดินหน้าไปต่ออย่างไรให้พ้นวิกฤต” โดยมี อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญในหลายด้านจำนวน5ท่าน ท่าน ที่1.รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา  อาชวนิจกุล.  , 2.รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์  กิตติสุขสถิต  3.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ  จำรัสฤทธิรงค์, 4.รองศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์พร  พันพึ่ง ,  5.รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์ ร่วมเสวนาโต๊ะกลม ครั้งที่ 1 (Roundtable Talk) ภายใต้หัวข้อทบทวน “ประเด็นประชากร”ขบคิด “ผลกระทบของโควิด-19” มองอนาคต “เดินหน้าไปต่ออย่างไรให้พ้นวิกฤต” งานประชุมวิชาการระดับชาติ “ก้าวสู่ปีที่ 50”และมีรองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนาฯและต้อนรับ ผู้เข้าร่วมการเสวนาฯ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร อาจารย์สถาบันฯ เป็นพิธีกรผู้ดำเนินการเสวนาฯ

ซึ่งนับตั้งแต่ ธันวาคม 2562 เป็นต้นมา ทั่วโลกเผชิญวิกฤตของโควิด-19 โดยไม่ทันตั้งตัว ผลกระทบยิ่งใหญ่ทำให้ประชากรทั่วโลกเจ็บป่วย เสียชีวิต ล้มละลาย ตกงาน เผชิญความรุนแรงในครอบครัว อยู่อย่างยากลำบาก ใกล้ครบ 1 ปี ที่เราอยู่กับโควิด-19 ในหลายประเทศ สถานการณ์วิกฤติก็ยังไม่มีทีท่าจะคลายลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทบทวน สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และร่วมกันค้นหาทางออก และยกระดับให้สามารถพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้โดยเร็ว ชีวิตหลังโควิด-19 จะเป็นอย่างไรต่อไป? คงเป็นคำถามที่ทุกคนอยากรู้ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีงานวิจัยที่จะชวนท่านร่วมหาทางออกของวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อประชากรไทยในครั้งนี้ ในวงเสวนาโต๊ะกลม “ทบทวน ขบคิด มองอนาคต หลังการมาเยือนของ COVID-19” ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร เพื่อเปิดพื้นที่ ร่วมคิดและมองอนาคตหลังโควิด-19 ร่วมกัน โดยพบกับ ผู้ร่วมวงเสวนา 5 ท่าน ซึ่งได้นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับประชากรกลุ่มต่างๆ ผ่าน Facebook Page: The Prachakorn ไปแล้ว ได้แก่ รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิชกุล ในหัวข้อ “ความยากลำบาก (ยิ่งขึ้น) ในการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ในช่วงโควิด-19” ซึ่งเป็นปัญหามากว่า 60 ปี ผลกระทบของการเข้าไม่ถึงบริการในการยุติการตั้งครรภ์ นำมาซึ่งปัญหาการบาดเจ็บ และเสียชีวิต ที่ผ่านมาสังคมไทยได้ละเลยต่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ทำให้ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้ ผู้หญิงเหล่านี้จึงต้องใช้บริการคลินิกทำแท้งเถื่อน องค์การอนามัยโลกเสนอว่า สิ่งสำคัญจึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด ให้การทำแท้งเป็นเรื่องของบริการสุขภาพ แทนที่จะมองว่าหญิงที่ทำแท้งเป็นอาชญากร จะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้ ต้องแก้กฎหมายเพื่อให้การทำแท้งเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมและปลอดภัย และในช่วงที่มีวิกฤติโควิด-19 การเข้าถึงบริกายุติการตั้งครรภ์ ยิ่งจะยากลำบากมากขึ้น จากงานวิจัยนี้ ยังมีข้อเสนออีกหลายประการ มาร่วมหาทางออกกับเรา เพื่อช่วยให้ผู้หญิงท้องไม่พร้อม หลุดพ้นจากความยากลำบากในการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์

รศ.ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต นำเสนอประเด็น “การทำงาน ครอบครัว ความสุข ในสถานการณ์โควิด-19” ที่จะสะท้อนให้เห็นว่าความสุขในครอบครัวมีความหมายต่อคนทำงานในองค์กร การศึกษานี้ได้ร่วมกับ สสส. ผ่านโครงการการสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กรในประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อขยายผลการสร้างต้นทุนความสุขไปยังคนทำงานองค์กรทั่วประเทศ 100 องค์กร ยกระดับองค์กรให้เป็น “พี่เลี้ยง” ต่อยอดการสร้างความสุขให้กับครอบครัวคนทำงานองค์กรให้กว้างขวางและยั่งยืนมากขึ้น โดยนำเสนอ 4 วัคซีน “ครอบครัวมีสุข” คนทำงานองค์กร นั่นคือ ความอบอุ่น สงบสุข เข้มแข็ง และพอเพียง โดยส่งเสริมให้องค์กรวินิจฉัยตัวเอง ว่าคนทำงานเจ็บป่วยด้วยสาเหตุอะไร จากนั้นก็เลือกวิธีรักษาโดยค้นหากิจกรรม ปฏิบัติตามแผนที่กำหนด และติดตามประเมินผล ในช่วงโควิด-19 วัคซีน “ครอบครัวมีสุข” จะช่วยสร้างต้นทุนความสุข ให้กับครอบครัวคนทำงานองค์กรได้หรือไม่อย่างไร มาร่วมเสวนากับเรา

 ศ.เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ “เราเปลี่ยนประเทศเปลี่ยน: นโยบายการทดแทนประชากรในศตวรรษที่ 21” ที่จะฉายภาพให้เห็นถึงความมั่นคงทางประชากรในประเทศไทย ที่มีข้อมูลจากการคาดประมาณ ทำให้เห็นถึงปรากฎการณ์การลดลองของประชากรที่น่าเป็นห่วง มาตรการต่างๆที่รัฐนำมาใช้แก้ปัญหาจะได้ผลมากน้อยเพียงใด ช่วยเพิ่มประชากรทั้งปริมาณและคุณภาพได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Replacement migration หรือการนำเข้าประชากร ที่หลายประเทศในยุโรปได้ใช้อย่างแพร่หลายมานานแล้ว ในสถานการณ์ที่โควิด-19 ยังคงไม่น่าวางใจ การนำเข้าประชากรจะต้องวางยุทธศาสตร์อย่างไร นำเข้าแค่ไหนจึงจะเพียงพอ และใครบ้างที่จะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัญหาหรือผลกระทบจากการนำเข้าประชากรมีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมรับมือ เรื่องนี้มีประเด็นสำคัญมากมายที่อยากจะชวนท่านมาร่วมกันขบคิด

รศ.ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง และ รศ.ดร.นพ.ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์ นำเสนอหัวข้อ “สูงวัยในเมืองหลวง” ซึ่งมีเป้าหมายที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยสะท้อนข้อมูลจากการสำรวจผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ พบว่า ผู้สูงอายุจำนวนมากเข้าไม่ถึงสวัสดิการต่างๆและมีปัญหาทางการเงิน และส่งผลให้เกิดความเครียด และกระทบต่อผู้ดูแลอีกด้วย แล้วในสถานการณ์โควิดเป็นอย่างไร ผู้สูอายุจะได้รับผลกระทบมากขึ้นเพียงใด มาตรการความช่วยเหลือของรัฐ ไปถึงมือผู้สูงอายุจริงหรือไม่ และในระยะยาวหากจะสร้างระบบสนับสนุนที่ยั่งยืนจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ขอเชิญทุกท่านมาร่วมถกถามกับเรา…. www.theprachakorn.com

ไชยอนัต์ ดลชัยกรร์สกุล