Breaking News

นครปฐม เขตสุขภาพที่ 5ประชุมสรุปแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก

เขตสุขภาพที่ 5ประชุมสรุปแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก

วันที่ 3พฤศจิกายน 2563 ที่ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสามพราน อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

นพ.กิตติ  กรรภิรมย์  สาธารณสุขนิเทศน์  เป็นประธานประชุมสรุปแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 5 ปีงบประมาณ 2564 พร้อมด้วย ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 มี 8จังหวัด   1.จังหวัดราชบุรี 2.จังหวัดกาญจนบุรี  3.จังหวัดสุพรรณบุรี 4.จังหวัดนครปฐม 5.จังหวัดสมุทรสาคร 6.จังหวัดสมุทรสงคราม 7.จังหวัดเพชรบุรี และ8.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เข้าร่วม นำเสนอมติประชุมการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก  สรุปแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูล ในเขตสุขภาพที่ 5 ดังนี้

ทารกเสียชีวิต (Stillbirth, Neonatal)ใช้เกณฑ์ อายุครรภ์มารดา มากกว่าหรือเท่ากับ 28 สัปดาห์ และน้ำหนักทารก มากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 กรัม     การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ รายงานข้อมูลมารดาและทารกเสียชีวิต ให้ดำเนินการในภาพรวมทั้ง คนไทยและต่างด้าว  ดังนั้นโรงพยาบาลทุกแห่งต้องดู Performance ของโรงพยาบาลในการให้บริการประชาชนทุกราย ที่มารับบริการทั้งคนไทยและต่างด้าว การรวบรวม  วิเคราะห์  รายงานข้อมูลจึงต้องทำในภาพรวมทั้งคนไทย และต่างด้าวไปด้วย ต่อไปอาจวิเคราะห์แยกกลุ่มแล้วแต่โรงพยาบาลจะพิจารณา ข้อมูลที่ได้จาก HDC มีเฉพาะ คนไทยเท่านั้น เขตสุขภาพที่ 5 จึงต้องใช้ข้อมูลจากโรงพยาบาลทุกแห่งในเขตรวมทั้งโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพของศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ซึ่งเป็นศูนย์วิชาการจะมีแนวทางการเชื่อมต่อกับเขตสุขภาพอย่างไรเพื่อส่ง ต่อข้อมูลให้ประธาน MCH Board เขตสุขภาพที่ 5 บริหารจัดข้อมูลต่อไป

ข้อมูลทารกที่เสียชีวิตที่นาเสนอ จังหวัดกาญจนบุรี ขอปรับ Stillbirth ปี 63 จานวน 32 ราย ปี 64 เหลือ 20 ราย เป็น ปี 63 จานวน 43 ราย ปี 64 เหลือ 25 ราย จังหวัดสุพรรณบุรี Neonatal จาก 23 ลด เหลือ 16 ราย
รวมทั้งการสรุปแนวทางการรายงานการเสียชีวิต

ผู้ป่วยถูกส่งต่อมารักษาจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ไปยังโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง แล้วผู้ป่วยเสียชีวิตที่ โรงพยาบาลนั้น จะถือว่าโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยมารักษาต้องรับผิดชอบรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตรายนั้น    ถ้าผู้ป่วยถูกส่งตัวมารักษาจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ไปยังโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ระหว่างทางผู้ป่วย เสียชีวิต จะถือว่าโรงพยาบาลต้นทางที่ส่งผู้ป่วยต้องรับผิดชอบรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตรายนั้น

การรายงานข้อมูลควรรายงานเป็นจำนวนตัวเลข จะได้เห็นชัดเจนว่าเป็นจำนวนเท่าไร จากรายงานมารดาเสียชีวิต ปี 2563 Post partum hemorrhage ( PPH ) เป็นสาเหตุการตาย อันดับ 1 ของเขตสุขภาพที่ 5 ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดมาตรการป้องกันเป็นขั้นตอนพร้อมระยะเวลาที่ปฏิบัติ แต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน และประกาศใช้เป็นมาตรฐานให้บุคลากรทุกคนในโรงพยาบาลทุกแห่งของเขตสุขภาพ ที่ 5 ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนด “ปี 2564 เขตสุขภาพที่ 5 ไม่มีมารดา เสียชีวิต” ถ้าใครไม่ทำตามมาตรการนี้ต้องรับผิดชอบตัวเอง และชี้แจงเหตุผลอีกด้วย

พัชรี เกษรบุญนาค/ข่าว