วันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30 น.
นายสุทธพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมหารพัฒนาชุมชน ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธาน ร่วมกิจกรรม “ฝึกปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่ทั้ง7ภาคี ด้วยการบูรณาการการทำงานแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบการช่วยเหลือกันและกัน ผ่านการเอามื้อสามัคคี” โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”
ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
โดยมีนายร่องกี้ พลเยี่ยม ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน นางสาวนันทนา หวังธงชัยเจริญ ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน รวมถึงนายวรงค์ แสงเมือง พัฒนาการจังหวัดสระบุรี พัฒนาการอำเภอ และภาคีเรือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ นำโดยนายบุญล้อม เต้าแก้ว และทีมงานฯ จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงเดินทางมาร่วมกิจกรรมฯ ในวันนี้ด้วย ในการนี้ นายสุรพล ท้าวพรหม ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมฯ ดังนี้
1. เพื่อฝึกปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่ทั้ง7ภาคี ด้วยการบูรณาการการ
ทำงานแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบการช่วยเหลือกันและกัน ผ่านการเอามื้อสามัคคี
2. เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบให้มีความพร้อมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ฝึกอบรมประชาชน ให้มีศักยภาพในการรองรับการฝึกอบรม เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน และการฝึกปฏิบัติ พร้อมทั้งสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่บริการทั้ง 6 จังหวัด
กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรจาก 7 ภาคี ประกอบด้วย เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนหนองกระโดนมน ครูและนักเรียน ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ในเขตพื้นที่บริการของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
ทีมครูพาทำ ประกอบด้วย ทีมวิทยากรจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนหนองกระโดนมน จ.สุพรรณบุรี และคณะครูนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งเกตุ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
รวมถึงนำเสนอข้อมูลแปลง/การทำ “โคก หนอง นา” พื้นที่ต้นแบบ โดยมีกิจกรรมผ่านการเอามื้อสามัคคี ดังนี้
1. การปรับพื้นที่แปลง/การขุดคลองไส้ไก่
2. การปลูกต้นไม้ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ (ปลูกป่า 5 ระดับ/ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง)
3. การห่มดินตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ (การห่มดิน/การใส่ปุ๋ย แห้งชาม น้ำชาม)
4. การบริหารจัดการน้ำ/การกักเก็บน้ำในสระ (ย่ำขี้วัว)
จากนั้น พัฒนาการจังหวัดสระบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี ได้ร่วมกิจกรรมสาธิตแบบมีส่วนร่วมทั้ง 4 กิจกรรม ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้รับประโยชน์จากการร่วมกิจกรรมฯ ในครั้งนี้ เพื่อนำไปถ่ายทอดองค์ความรู้และต่อยอดความรู้ให้แก่กลุ่มองค์กรเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม “โคก หนอง นา โมเดล” ต่อไป
#สถานีข่าว CNS สระบุรี