กาญจนบุรีทบ..จับมือ วช. นำงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างอาชีพให้กับชุมชน เปิดโครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพบก และคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). พล.ท.สมศักด์ สมรักษ์ เจ้ากรมกิจกรพลเรือนกองทัพบก เป็นประธานเปิดโครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพบก และคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มณฑลทหารบกที่ 17 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะหน่วยงาน สนับสนุนการวิจัยและการบริหารจัดการผลกับงานวิจัย ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการใน ภาพรวมในการขับเคลื่อน ผลักดันให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปประธรรมในมิติการพัฒนาเชิง พื้นที่วัด จึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ การขยายผลองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมกับกองทัพบกเพื่อเชื่อมโยงและบูรณาการการนำผลงานวิจัยและ และนวัตกรรม ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การดูแลของกองทัพบกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 ณกองทัพบกโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศาสตร์พระราชา ร่วมกับองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตรายได้เสริมอาชีพและการอยู่ดีมีสุขในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศให้แก่ประชาชนและชุมชนโดยรอบศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชนและชุมชน ในด้านอาชีพการอยู่ดีมีสุข ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อสร้างโอกาส ใน การขยายผล องค์ความรู้ จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมจึงร่วมกับกองทัพบกจัดกิจกรรม การขยายผลองค์ความรู้ จากผลงาน วิจัยและนวัตกรรมสู่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพบกและ วช. พอเพียง เพิ่มพลังชุมชน มั่นคงด้วยวิจัย และนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 27-29 มกราคม 2562 ณ.มณฑลทหารบกที่ 17 ค่ายสุรสีห์ตำบลลาดหญ้าอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีโดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์ ศิริพฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมในพิธีเปิด
การลงพื้นที่ในครั้งนี้ วช.ได้นำกิจกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 2 เรื่อง ได้แก่เรื่อง “การจัดการของเสีย อินทรีย์ในครัวเรือน ด้วยระบบหมักแบบไร้อากาศและการใช้น้ำทิ้ง ในการปลูกพืชแบบ ไม่ใช้ดิน” ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุษา อ้นทอง แห่งมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ซึ่งเป็นการ จัดการของเสียอินทรีย์แบบระบบหมักไร้อากาศ เพื่อผลิตเป็น ก๊าซมีเทนใช้เป็นพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวเรือน และสามารถประยุกต์นำน้ำทิ้งจากระบบ นำไปเป็นปุ๋ยชีวภาพใช้ในการปลูกพืชไร้ดินทดแทนและเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกของผู้ช่วยศาสตราจารย์ รจนา จันทราสา แห่งมหาวิทยาลัย ราชภัฏ สวนสุนันทา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อสอนเทคนิคการปลูกหญ้าแฝก การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก และเพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์เน้นการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสร้างราย ได้ให้กับชุมชน โดยคาดหวังว่าจะมีประชาชนในพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาอาชีพ และสามารถสร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชนต่อไปได้
หลังจากการทำการเปิดโครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพบก และคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เสร็จแล้ว พล.ท.สมศักด์ สมรักษ์ เจ้ากรมกิจกรพลเรือนกองทัพบก และคณะได้ชมแปลงสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง ของมณฑลทหารบกที่ 17
เกษร เสมจันทร์